วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10.30-12.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 11.30-14.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้






นำเสนอทฤษฎีทั้ง 4 ด้าน 4 กลุ่ม



ทฤษฎีที่ 1 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ และ กีเซลล์
         กีเซลล์ กล่าวถึง ทฤษฎีพัฒนาการทางร่่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็ฯพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการด้านร่างกายนั้น หมายถึง การที่เด็กแสดงออกในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่นลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโต ของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวการทำงาน ของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

กีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว เป็นความสามารถของร่างกาย ที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
2.พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่าง ระบบการเคลื่อนไหวและระบบความรู้สึก เช่น การประสานงานระหว่างตากับมือ
3.พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางการเคลื่อนไหว
4.พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง

ทฤษฏีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
         บรูเนอร์ เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก

บรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ คือ
1.แรงจูงใจ
2.โครงสร้าง
3.ลำดับขั้นการต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง

บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1.ขั้นการกระทำ เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2.ขั้นคิดจิตนาการหรือสร้างมโนภาพ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจิตนาการ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด เด็กเริ่มเข้าใจการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น

ทฤษฎีที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นได
เน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม การใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์เพื่อเป็นการฝึกทักษะเกี่ยวกับจิตใจ เป็นความพร้อมทางด้านสมองและสติปํญญา
2.กฎแห่งการฝึกหัด เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำงานสัมพันธ์กันดี
3.กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและพอใจ
ทฤษฎีของเพียเจต์
       เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัสดุต่าง ๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐฒวัยซึ่งอาศัยการเรียนรู้ เป็นสื่อการกระตุ้นของเด็ก จำเป็ฯต้องให้เด็กได้มีโอกาศการเคลื่อนไหวและสัมผัสต่างๆ


ทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
       กิลฟอร์ด กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกลหลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกอนัย ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดละออ

กิลฟอร์ดได้ให้รายละเอียดขององค์ประกอบของความคิดสร้าง ไว้ดังนี้
1.ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน กับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากความคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็นหรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
2.ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
             2.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำเป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
             2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์เป็ฯความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
             2.2 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยชน์กล่าว คือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ต้องการ
             2.3 ความคล่องแคล่วในการคิด เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3.ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
            3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนมีความคิดสร้างสรรค์จะทำได้ทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
           3.2 ความยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลงหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน
4.ความคิดละเอียดละออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็ฯขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็ฯแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็ฯรายละเอียดที่นำมาตกแต่งขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี พอล ทอร์แรนซ์ นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็ฯกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งบกพร่องขาดหายไปแล้ว รวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น 

ทอร์แรนซ์ มีกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1.การพบความจริง
2.การค้นพบปัญหา
3.การตั้งสมมติฐาน
4.การแก้ปัญหา
5.ยอมรับผลจากการค้นพบ

ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1.เริ่มคิด
2.ขั้นขรุ่นคิด
3.ขั้นเกิดความคิด
4.ขั้นปรับปรุง

ทฤษฎีที่ 4 ทฤษฎีด้านสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นขั้นวัยทารก อิริคสันถือว่าเป็ฯรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป
2.ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจในตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี วันนี้เป็ฯวัยที่เริ่เดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตขอร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตนเอง และมีความอยากรู้อยากเห็น
3.ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อิริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ

(3 ขั้นนี้เป็นขั้นพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย)
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่า
        การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้
    1.กระบวนการดึงดูดความสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กสังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดความสนใจ ที่จะเลียนแบบ ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่สลับซับซ้อน
    2.กระบวนการคงไว้ คือกระบวนการบันทึกรหัสเป็นความทรงจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำ ในการบันทึกสิ่งที่ได้ยินเก็บเป็ฯความทรงจำ
    3.กระบวนการแสดงออก คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวรูปแบบต่างๆ
   4.กระบวนการจูงใจ คือกระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง


วันพฤหัสบดี ที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

คุณครูรออยู่ในห้องแล้ว เพื่อนๆและเราก็ต่างปั๊มตัวการ์ตูนเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามาแล้วว


ปั๊มก่อนเข้าเรียน



บริหารสมองก่อนทำกิจกรรมต่อไป






เพลงที่ใช่ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวในวันนี้

หลังจากบริหารสมองกันเสร็จ ครูก็เปิดเพลงเด็กให้ฟังทำนอง แล้วสั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั่นให้คิดท่าเคลื่อนไหวประกอบจังหวะให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย โดยในกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกคน คนละ 2 ท่า 5 คนก็รวมเป็น 10  ท่าต่อกลุ่ม 




กลุ่มแรกของเรา ภาพสวยงามมากค่ะ ท่าก็สวย เริ่ดค้ะ อิอิ






หลีดพร้อม "พร้อม"



                                         

คลิปของกลุ่มสุดท้าย ชอบจึงถ่ายไว้ดูเล่น 55^^


เมื่อออกไปนำเสนอท่าออกกำลังกายจนครบหมดทุกกลุ่มแล้ว โจทย์ต่อไปคือ คิดท่าของตนเองไว้ 3 ท่า แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ทีละคน โดยสมมติให้เพื่อนเป็นเด็กๆแล้วเราเป็นครู เราต้องออกมาอธิบายเป็นขั้นตอนให้เด็กเข้าใจและสามารถทำตามคำสั่งได้ ในขณะที่พูดอธิบายทำกิจกรรมอยู่นั้นจำเป็นมากที่จะต้องยิ้มอยู่เสมอ และอีกอย่างนึ่งที่สำคัญคือเด็กเล็กจะยังไม่รู้จักซ้ายขวาดีนัก ถ้าเราอยู่หน้าเด็กหันหน้าไปทางเด็กให้นึกว่าเราเป็นกระจกให้กับเขา ถ้าหากเรายกแขนซ้าย เราก็บอกว่าแขนขวาเพราะเป็นแขนขวาของเด็กหากหันไปทางเด็กเราอ่านจะงงๆในช่วงแรก แต่ปัญหานี้จะหมดไปในช่วงเด็กโตขึ้นเขาจะรู้จักซ้ายขวาและฝั่งตรงข้ามผู้เป็นกระจกแล้วจึงไม่ต้องพูดสลับกันให้งง แต่เด็กเล็กนั้นสำคัญมาที่จะต้องทำแบบนี้ (ใช้ในกรณีที่เรายืนหันหน้าไปทางเด็ก)



ครูเป็นตัวอย่างให้ดู



คนแรกๆเป็นผู้โชคที่ ที่ครูจะคอยช่วยอยู๋ข้างค่ะ^^




หลังๆมา ตัวใครตัวมันนะจะ อีนู๋ววว อิอิ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ได้รับความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสม
-มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าทางที่ไม่ซ้ำ
-สิ่งที่ควรรู้จากกาสรเป็นครูปฐมวัย นำไปใช้ในการสอน
-คำนึงถึุงเด็กเล็กเวลาบอก ซ้าย ขวา รู้วิธีจัดการปัญหาให้ง่ายต่อการสอนให้เด็กเข้าใจ
-มีเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ ในการสอน

ประเมิณผล

ประเมิณตนเอง : ตรงต่อเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรม แสดงความคิดเห็นช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มและห้อง เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี และสนุกกับการเรียน

ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันดี สร้างบรรยากาศให้นุกหน้าเรียน 

ประเมิณอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดี สร้างบรรยากาศให้น่าเรียน ยิ้มแย้มแจ่มใส แนะนำส่งเสริมสิ่งดีๆให้กับนักศึกษา 



วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 

วันจันทร์  ที่  26  เดือน มกราคม  พ.ศ.2559  เวลา 10.30-12.30 น.
วันพฤหัสบดี  ที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 11.30-14.30 น.




สิ่งที่เรียนในวันนี้


ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
     1.1 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เช่น
           การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  และการคลานเป็นต้น
     1.2 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่  เช่น
           การดัน  การบิด  การเหยียด  เป็นต้น
2.การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
     2.1 การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง  การตี เป็นต้น
     2.2 การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ  การหยุดเป็นต้น

สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย กรมพลศึกษา(2543) กล่าวถึงกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น
1.ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2.ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง
3.ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4.ประเภทฝึกจิตนาการจากคำบรรยาย
5.ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก  เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร หรือ การกระโดดของกบ  การควบม้า  ฯลฯ
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน หนอนกำลังคลาน ว่าวกำลังลอย ฯลฯ
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

  1. การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี ฯลฯ
  2. การเล่นเกมต่างๆของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
  3. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง(การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย ฯลฯ
  4. การเต้นรำพื้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก  เพลงช่างทำร้องเท้า ฯลฯ
การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
      -การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน  เพื่อให้มีความคล่องแคล่ว  ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กต้องรู้การเคลื่อนไหวร่างกายแต่ละส่วนมากน้อยเียงใด  ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน มีขนาดใหญ่ แคบกว้างอย่างไร
ทิศทางของการเคลื่อนที่
      -การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า  ไปข้างหลัง  ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง) ถ้าไม่ได้รับการฝึก ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว




การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้
1.การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
2.การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
3.การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
4.การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยร่างกายจะไม่เคลื่อนไป ณ จุดนั้นเลย
2.การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างวสัมพันธ์กัน
2.ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3.ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4.สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5.พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม 
6.ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาศแสดงออกอย่้างสร้างสรรค์
7.พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตาม
8.ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย
  1. ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกายว่าฃื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด
  2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
ข้อเสนอแนะ
     1.ควรยึดหลักการจัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาศค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด
     2.ผู้เลี้ยงดูเด็กควรยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายของเด็กและให้โอกาศเด็กได้ฝึกคิด
     3.อาจเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แทนผู้เลี้ยงดูเด็ก เช่น พ่อแม่ ตำรวจ หมอ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กสนใจและสนุกสนานมากขึ้น
     4.ในขณะที่เด็กกำลังทำกิจกรรมหรือหลังทำกิจกรรมเสร็จแล้วควรตั้งคำถามปลายเปิดให้กับเด็กได้ตอบคำถาม ผู้เลี้ยงควรใจเย็นให้เด็กคิดหาคำตอบ
     5.ช่วงเวลาทำกิจกรรมสามารถยึดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเด็กในการทำกิจกรรมนั้นๆอย่างเหมาะสม


แนวทางการประเมิน
1.สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2.สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน
3.สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งหรือข้อตกลง
4.สังเกตการแสดงออก
5.สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม



พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

สองของมนุษย์แบ่งเป็น 2 ซีก

การทำงานของสมอง

-สมองซีกขวารับความรู้สึก
-สมองซีกซ้าย ตรรกะ ,ภาษา
สมองเรียนรู้โดยใช้ตรรกะและความรู้สึก




ตัวอย่างแบบทดสอบของสมอง

เพื่อนๆลองอ่านตัวหนังสือเป็นคำๆ และเปลี่ยนมาอ่านสีที่ตัวอักษรใช้เวลาให้น้อยที่สุด

มาช่วยกันดูสิว่ามีไม้ทั้งหมดกี่แผ่น ?

เป็นการทดสอบและฝึกสมองทั้ง2ซีก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถเตรียมความพร้อมก่อนสอนอย่างเป็นอย่างดี
-นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสมองก่อนเรียน
-เข้าใจและสามารถทำกิจกรรได้อย่างสร้างสรรค์
-นำไปประยุกต์เป็นกิจกรรมต่างๆในการเรียนการสอน
-สามารถประเมินกิจกรรมในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเป็นระเบียบเรียนร้อย  ตั้งใจเรียน  ให้ความสนใจครูผู้สอน สามารถตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง  ช่วยเหลือเพื่อนในห้อง ทำงานเป็นทีมได้ค่ะ

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน สร้างบรรยากาศในห้องเรียนสนุกเฮฮาทำให้ไม่น่าเบื่อ  และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและทำกิจกรรมเสมอ ช่วยเหลือกันและกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมเสมอ แต่งกายเนียบดูดี หน้าเกรงขาม มีความเป็นกันเองทำให้นักศึกษาไม่เกร็งหรือเครียดในขณะที่เรียน มีมุขเล็กน้อย พอขำๆไม่เครียด โดยรวมดีค่ะ