วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 

วันจันทร์  ที่  26  เดือน มกราคม  พ.ศ.2559  เวลา 10.30-12.30 น.
วันพฤหัสบดี  ที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 11.30-14.30 น.




สิ่งที่เรียนในวันนี้


ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
     1.1 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เช่น
           การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  และการคลานเป็นต้น
     1.2 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่  เช่น
           การดัน  การบิด  การเหยียด  เป็นต้น
2.การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
     2.1 การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง  การตี เป็นต้น
     2.2 การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ  การหยุดเป็นต้น

สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย กรมพลศึกษา(2543) กล่าวถึงกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น
1.ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2.ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง
3.ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4.ประเภทฝึกจิตนาการจากคำบรรยาย
5.ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก  เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร หรือ การกระโดดของกบ  การควบม้า  ฯลฯ
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน หนอนกำลังคลาน ว่าวกำลังลอย ฯลฯ
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

  1. การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี ฯลฯ
  2. การเล่นเกมต่างๆของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
  3. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง(การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย ฯลฯ
  4. การเต้นรำพื้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก  เพลงช่างทำร้องเท้า ฯลฯ
การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
      -การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน  เพื่อให้มีความคล่องแคล่ว  ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กต้องรู้การเคลื่อนไหวร่างกายแต่ละส่วนมากน้อยเียงใด  ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน มีขนาดใหญ่ แคบกว้างอย่างไร
ทิศทางของการเคลื่อนที่
      -การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า  ไปข้างหลัง  ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง) ถ้าไม่ได้รับการฝึก ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว




การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้
1.การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
2.การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
3.การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
4.การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยร่างกายจะไม่เคลื่อนไป ณ จุดนั้นเลย
2.การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างวสัมพันธ์กัน
2.ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3.ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4.สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5.พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม 
6.ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาศแสดงออกอย่้างสร้างสรรค์
7.พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตาม
8.ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย
  1. ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกายว่าฃื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด
  2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
ข้อเสนอแนะ
     1.ควรยึดหลักการจัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาศค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด
     2.ผู้เลี้ยงดูเด็กควรยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายของเด็กและให้โอกาศเด็กได้ฝึกคิด
     3.อาจเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แทนผู้เลี้ยงดูเด็ก เช่น พ่อแม่ ตำรวจ หมอ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กสนใจและสนุกสนานมากขึ้น
     4.ในขณะที่เด็กกำลังทำกิจกรรมหรือหลังทำกิจกรรมเสร็จแล้วควรตั้งคำถามปลายเปิดให้กับเด็กได้ตอบคำถาม ผู้เลี้ยงควรใจเย็นให้เด็กคิดหาคำตอบ
     5.ช่วงเวลาทำกิจกรรมสามารถยึดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเด็กในการทำกิจกรรมนั้นๆอย่างเหมาะสม


แนวทางการประเมิน
1.สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2.สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน
3.สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งหรือข้อตกลง
4.สังเกตการแสดงออก
5.สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม



พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

สองของมนุษย์แบ่งเป็น 2 ซีก

การทำงานของสมอง

-สมองซีกขวารับความรู้สึก
-สมองซีกซ้าย ตรรกะ ,ภาษา
สมองเรียนรู้โดยใช้ตรรกะและความรู้สึก




ตัวอย่างแบบทดสอบของสมอง

เพื่อนๆลองอ่านตัวหนังสือเป็นคำๆ และเปลี่ยนมาอ่านสีที่ตัวอักษรใช้เวลาให้น้อยที่สุด

มาช่วยกันดูสิว่ามีไม้ทั้งหมดกี่แผ่น ?

เป็นการทดสอบและฝึกสมองทั้ง2ซีก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถเตรียมความพร้อมก่อนสอนอย่างเป็นอย่างดี
-นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสมองก่อนเรียน
-เข้าใจและสามารถทำกิจกรรได้อย่างสร้างสรรค์
-นำไปประยุกต์เป็นกิจกรรมต่างๆในการเรียนการสอน
-สามารถประเมินกิจกรรมในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเป็นระเบียบเรียนร้อย  ตั้งใจเรียน  ให้ความสนใจครูผู้สอน สามารถตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง  ช่วยเหลือเพื่อนในห้อง ทำงานเป็นทีมได้ค่ะ

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน สร้างบรรยากาศในห้องเรียนสนุกเฮฮาทำให้ไม่น่าเบื่อ  และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและทำกิจกรรมเสมอ ช่วยเหลือกันและกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมเสมอ แต่งกายเนียบดูดี หน้าเกรงขาม มีความเป็นกันเองทำให้นักศึกษาไม่เกร็งหรือเครียดในขณะที่เรียน มีมุขเล็กน้อย พอขำๆไม่เครียด โดยรวมดีค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น