วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 22 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 8.00-15.00น.



ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


อาคาร 3 จะมีป้ายไฟวิ่งอยู่ด้านบน เขียนว่า
 ยินดีตอนรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 2  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย แสดงให้เห็นถึงการตอนรับของทางโรงเรียนทั้งคณะครูนักเรียนก็ยิ้มรับเป็อย่างดีแสดงให้เห็นถึงความยินดีในการเยี่ยมชม

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนรูปดอกบัว


ใบรับรองมาตราฐานการศึกษาฯ

ประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ ถนนสุขุมวิท  71 กรุงเทพมหานคร ในที่ดินของธนาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นอาคารเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคานึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจุบัน) และอาคารทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้นอนุบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2498 โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์" สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา
วันที่ 1 ตุลาคม 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมคม 2524 การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร 3 งาน 88 ตารางวาซึ่งติดกับแปลงที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวมเป็นเนื้อที่ผืนเดียวกันรวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาขยายโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศในราชกิจจานุเบกขา เล่มที่ 120 ตอนที่ 63 ก ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ, ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6

อาคารเรียน
1. อาคารเรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาคาร 1) จำนวน 15 ห้องเรียน สร้างด้วยเงินงบประมาณ ปี 2513 จำนวน 1,500,000 บาท
2. อาคารเรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาคาร 2) จำนวน 17 ห้องเรียนสร้างด้วยเงินงบประมาณปี 2518 จำนวน 3,000,000 งบประมาณปี 2519 จำนวน 450,000 บาท
3. อาคารเรียนตึกพิเศษ 4 ชั้น (อาคาร 3) มีชั้นดาดฟ้า สามารถใช้เป็นที่เรียนกิจกรรมได้ มีห้องเรียน 48 ห้องเรียน สร้างด้วยเงินงบประมาณปี 2526-2528 จำนวนเงิน 16,332,000 บาท รวมอาคารเรียน 3 หลัง จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 80 ห้องเรียน

วิสัยทัศน์
อนุบาลพิบูลเวศม์ เป็นสถานศึกษาที่มุ่งมันบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัน และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้สู่คุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

คำขวัญ
ความรู้ดี มีคุณธรรม
นำสังคม ชื่นชมความเป็นไทย
ก้าวไกล สู่สากล

ตารางจำนวนบุคลากร
หลักสูตรการศึกษาของชั้นอนุบาลมี 2 หลักสูตร คือ
1.โรงเรียนมาตราฐานสากล World class  standard school
2.หลักสูตรMini english program แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ อนุบาลปีที่ 1 และอนุบาลปีที่ 2 ระดับปฐมศึกษาปีที่ 1- 6

วิดีโอแนะนำโรงเรียน


วีดีทัศน์แนะนำสถานศึกษา



ภาพบรรยากาศในการต้อนรับ



ผู้อำนวยการกล่าวเปิดงาน
นายสุวรรณ  ยะรังวงษ์


ได้รับเกียรติจากคณะครูผู้สอนได้สละเวลามาเป็นวิทยากรให้ความรู้และแนะนำชั้นเรียน


นักศึกษาขึ้นฟังบรรยายในห้องประชุมใหญ่ที่มีสื่ออำนวยความสะดวกครบครั้น และอาหารว่างได้ทานกันจนอิ่มท้องเลยละค่ะ


เอกสารของทางมหาวิทยาลัยมีโจทย์ให้นักศึกษานั้นศึกษาและนำไปเสนอหน้าชั้นเรียน และใบประเมิณกิจกรรม และกระดาษป่าวไว้จดบันทึกกิจกรรม


ฟังบรรยายพร้อมจดบันทึกข้อมูลและสรุปกิจกรรมใส่กระดาษบันทึก

หลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัย ควรประกอบด้วย
1.เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อเด็กเป็นรายบุคคล
2.มีการประสานมือกับผู้ปกครองเพื่อจะเข้าใจตรงกัน และปฏิบัติต่อเด็กให้สอดคล้องกัน
3.จัดและให้ประสบการณืแก่เด็กในมุมกว้าง และเชื่อมโยงความรู้เข้าหากันและต่อเนื่องกัน
4.ให้ความสำคัญกับการเล่นและการเรียนรู้ ผ่านการสำรวจด้วยตนเอง ตามวิธีที่ถนัด
5.เน้นการพัฒนาเด็กทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก เพื่อเขาจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
6.ให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เพื่อเขาจะได้เกิดความภาคภูมิใจ

วิดีโอ การสอบแบบโครงการ


Project Approach การสอนแบบโครงการ


ทางโรงเรียนมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ได้แก่
1.การจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการหมายถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำความรู้ในศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย เน้นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมให้เด็กได้ประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและมีทักษะในกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ

2.วอลดอร์ฟ (Waldort)
การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม เด็กจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการเลียนแบบ ครูและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็น
ข้อดี เด็กมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งจิตใจ ร่างกาย และความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญพวกเขาเติบโตขึ้นอย่างที่เข้าใจการเอื้ออาศัยซึ่งกันและกันของสรรพชีวิตในโลกชอบลงมือทำงานด้วยตนเองและเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี

3.Whole Language
คือการสอนภาษาให้เด็กต้องเป็นการสอนภาษาที่สื่อความหมายการเรียนแบบนี้สามารถทำได้ดี เพราะในระดับอนุบาลเล็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการเล่น ที่สำคัญคุณครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เด็กจึงจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี เพราะครูเปรียบเสมือนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก
ข้อดี ของการเรียนวิธีนี้ คือ จะช่วยปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน รักหนังสือ เป็นการเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อนและสามารถนำไปใช้ได้แม้กระทั่งที่บ้าน หรือในชีวิตประจำวัน

4.Project Approach
คือแนวคิดการให้เด็กได้ศึกษาลงลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่เขาสนใจ เป็นการสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงานเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ
 มีกิจกรรม 5 ลักษณะ ประกอบด้วย
1. การอภิปราย
2. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม 
3 ระยะ  1. ระยะเริ่มต้น
              2.ระยะดำเนินโครงการ
              3. ระยะสรุปโครงการ
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม                                     
4. การสืบค้น                                                                       
5. การจัดแสดง



ภาพนวัตกรรมของทางโรงเรียนในการใช้สอน





เป็นกิจกรรม และโครงการ ที่ทางโรงเรียนนำมาใช้ 

กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฐมวัยในแต่ละวัน

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3.กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆด้วยวิธีการหลากหลายเช่นการสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5.กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระโดยยึดเอาความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภท
ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน


ภาพกิจกรรมที่เด็กๆทำในชั้นเรียน

 

เด็กๆทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ระบายสี


กิจกรรมเสริมประสบการณ์



เป็นการเรียนแบบโครงการ 

Project Approach


กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ

การจัดสภาพแวดล้อม
          การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียนเป็นองค์ประกอบสำหรับการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม ผลงานของเด็กต้องนำมาประดับห้องเรียนเสมอ ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฏอยู่ทั้งบริเวณกลางแจ้งและภายในอาคาร มีการนำภาพศิลปะ งานประติมากรรม กลิ่นหอมของธรรมชาติเข้ามาตกแต่ง ทำให้บรรยากาศของโรงเรียนสงบ และอ่อนโยน ภายใต้แนวคิดที่ว่า เด็กวัย 0 - 7 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบ สิ่งที่เด็กเลียนแบบในช่วงนี้จะฝังลึกลงไปในเด็ก หล่อหลอมเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ และฝังแน่นไปจนโต

สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน

         บริเวณภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ ควรมีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ของเล่นที่จัดไว้เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย





สื่อและอุปกรณ์ในชั้นเรียน


บล็อกไม้หลากสี

เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ
1.ด้านร่างการ เด็กจะได้พัฒนาการทางแขนและนิ้วมือในการหยิบจับ
2.ด้านอารมณ์ เด็กจะได้ผ่อนคลายไปกับของเล่น ทำให้เด็กลืมความเครียดเกิดความสนุกและมีความสุข
3.ด้านสังคม  เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนๆได้อย่างมีความสุขรู้จักการรอคอย
4.ด้านสติปัญญา เด็กจะได้คิดและวางแผนในการสวมบล็อกหรือต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่างๆตามจิตนาการของเด็กอย่างอิสระ และยังรู้จักรูปทรงเรขาคณิต มีสีที่หลากหลายทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์


รู้จักรูปทรง รูปร่างเรขาคณิต และฝึกการนับจำนวน


เป็นมุมส่งเสริมความรู้ให้กับเด็ก บอกถึงประโยชน์ของทานตะวัน ซึ่งเรื่องที่ครูจะนำมาติดไว้ให้ได้ศึกษาจะเป็นกิจกรรมที่กำลังทำหรือทำมาแล้วภายในสัปดาห์นั้นๆเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ให้กับเด็ก


แผ่นชาร์ทเพลงที่เด็กๆช่วยกันแต่งขึ้นมา
ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยช่วยเหลือเด็ก


การตกแต่งภาพจากหิน
เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เกิดจากงานศิลปะ เด็กจะได้เรื่องของขนาดของก้อนหิน สีที่หลากหลายการแยกสีการเรียงลำดับสีหรือขนาดตามจิตนาการของเด็ก

สรุป
      สื่อการสอนที่นำมาให้ชมนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ดิฉันไม่สามารถเก็บภาพมาได้ทั้งหมดเพราะมันเยอะมากค่ะจึงยกแค่บ้างส่วนเพื่อให้เห็นภาพประกอบที่ชัดเจนขึ้นค่ะ  ส่วนกิจกรรมในชั้นเรียนก็ได้ความรู้ในการเก็บเด็กการควบคุมฉันเรียนวิธีการสอนที่ถูกวิธีและเห็นภาพความเป็นจริงเพื่อจะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นครูที่ดี และสามารถลงมือปฏิบัติจริงได้เมื่อถึงเวลาสังเกตการสอนหรือลงสอนจริงค่ะ


*************************************

วิธีการประเมิน
  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1.เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

      1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก
      1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ
      1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวันครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงาน
        วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น

2.วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน ดังนี้
     
        2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง
        2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร

ประเมินพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน
เครื่องมือที่ใช้  การบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
                        - การสัมภาษณ์
                        - การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก
                        - แฟ้มผลงานเด็ก
                        - การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ
                        - การเขียนบันทึก
                        - การทำสังคมมิติ
หลักการประเมิน
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน 

ร่วมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก



ความรู้ที่ได้รับ
             รู้จักการเลือกใช้สื่อที่สามารถนำมาส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น และรู้ว่าแต่ละสื่อนั้นควรจัดอย่างไรให้น่าสนใจและเหมาะสมสำหรับเด็ก มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยการใช้สื่อมาเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็ก และให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ และสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนคณิตศาสตร์ได้ และยังทำให้เด็กสนใจคณิตศาสตร์มากขึ้น รู้จักการนำกิจกรรม 6 กิจกรรมมาบูรณาการในการเรียนการสอนและส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน สอดแทรกคำถาม กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา และประสบการณ์สำคัญของเด็ก ได้ทราบถึงวิธีการสอบแบบโครงการ Project Approach ว่ามีวิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นย่างไร ได้ทราบถึงการประเมินวิธีการประเมินและเครื่องมือการประเมินในการจัดกิจกรรม ได้รู้ถึงลักษณะรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถทำสื่อที่มีความหลากหลายในการสอนทางวิทยาศาสตร์
-นำเอาวิธีการจัดห้องเรียนที่สนใจไปปรับใช้กับห้องเรียนในอนาคตเมื่อลงปฏิบัติจริง
-เน้นการทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเป็นประสบการณ์ตรง
-มีทักษะความรู้ในการทำการสอนแบบ โครงการหรือProject Approach 
-นำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษาหลายรูปแบบไปใช้   
-รู้วิธีการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ ที่เหมาะสม ทั้งภายในและนอกห้องเรียน   
-ได้เรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะหลากหลายสามารถนำไปปรับใช้ได้   
-มีวิธีการสอนเด็กอย่างถูกต้อง    
-รู้วิธีการประเมินเด็กที่หลากหลาย และควรประเมินเด็กตามสภาพจริง   
-รู้จักนำศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยการทำแผนการสอนที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการทุกด้าน

ประเมิณผล
ประเมิณตนเอง : เข้าอบรมตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังบรรยายและจดกิจกรรมพร้อมสรุป รู้จักไหว้ผู้ใหญ่

ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมีมารยาท มีสัมมาคารวะ

ประเมิณอาจารย์ : ครูดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี และมีการอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น