วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10.30-12.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 11.30-14.30 น.


ความสามารถทางการคิด
ทักษะการคิด
     - ทักษะการคิดพื้นฐานที่สำคัญ
       ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นทักษะย่อย ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน แบ่งเป็น
    - ทักษะการสืื่อความหมาย
    - ทักษะการคิดเป็นแกนสำคัญ
    - ทักษะการคิดขั้นสูง
       ความสามารถในการคิดที่มรกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะพื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด

ลักษณะการคิด
      เป็นคุณสมบัติของการคิดทีนำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการคิด
      เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยให้การคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก

สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
      สมรรถนะคือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3ปี = สามารถวิ่งแล้วหยุดเองได้
4ปี = เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5ปี = เดินต่อเท้าไปข้างหลังดดยไม่กางแขน

     และตัวอย่างอื่นๆเช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ความทรงจำ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของเด็กวัย 3-5 ปี

ความสำคัญ
    - ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
    - สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
    - ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
    - ส่งเสริมวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น
    - ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยบชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น
      เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกาาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมิณเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด้กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ
7 ด้าน 419 ตัวบ่งชี้ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของเด็กแต่ละวัย ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
ข้อมูลนำไปใช้ในการสร้างเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ได้ให้ใช้ในการตัดสินได้หรือตก

สมรรถนะ 7 ด้านประกอบด้วย
1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2. พัฒนาการด้านสังคม
3. พัฒนาการด้านอารมณ์
4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5. พัฒนาการด้านภาษา
6. พัฒนาการด้านจริยธรรม
7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

ด้านที่ 1 การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 
1.1การเคลื่อนไหว
      1.การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
      2.การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
      3.ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
1.2สุขภาวะทางกาย
     1.โภชนาการ
     2.สมรรถนะทางกาย
     3.ความปลอดภัย
     4.การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง

ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านสังคม
1.มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
2.มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและเด็ก
3.พฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคม
4.การเห็นคุณค่าของความแตกต่าง

ด้านที่ 3 พัฒนาการทางด้านอารมณ์
1.ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
2.การควบคุมอารมณ์ตนเอง
3.สมรรถนะของตนเอง

ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
1.ความจำ
2.การสร้างหรือการพัฒนาความคิด (ที่เป็นการคิดเบื้องต้น)
3.ตรรกวิทยา และความมีเหตุผล
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5.ความตั้งใจจดจ่อ
6.ความคิดด้านคณิตศาสตร์

ด้านที่ 5 พัฒนาการทางภาษา
1.การเข้าใจและการใช้ภาษา (ด้านการเข้าใจในภาษา)
2.การสื่อความหมาย (ด้านการพูด)
3.การอ่าน
4.การเขียน

ด้านที่ 6 พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.การมีวินัยในตัวเอง
2.การพัฒนาเกี่ยวกับการรู้ผิดชอบชั่วดี

ด้านที่ 7 พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
1.ศิลปะการแสดงดนตรีและการเต้นตามดนตรี
2.ศิลปะการแสดง



สรุปจากงานวิจัย
     จากสมรรถนะ 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
สมรรถนะ 178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
สมรรถนะ 52 ข้อ  อยู่ระดับ  ปานกลาง
สมรรถนะ 189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก
    ดังนั้น ข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมเด็กของเราต่อไป บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูและเด็ก ครูและอาจารย์ (สกส.,2553)
1.รักเด็ก
2.ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3.เข้าใจกระบวนการและพัฒนาตามวัยของเด็อย่างรอบด้าน
4.เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
5.มีจิตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ สนุกอยากรู้เพิ่มเติม
6.สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิด ให้เด็กมีส่วนร่วม
7.เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ก้าวร้าวทำร้ายทารุณและไม่ละเมิดทางกาย ทางเพศ และทางวาจากับเด็ก
8.ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้องรอบตัว
9.เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
10.สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
11.สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครองและผู้คนในชุมชน
12.คำนึง "ประโยชน์สูงสุด" ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ



วันพฤหัสบดี ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 11.30-14.30น. (ไม่มีการเรียนการสอน)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.ได้ความรู้เรื่องสมรรถนะของเด็กทำให้เข้าใจเด็กและสอนเด็กได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย
2.ได้ทราบถึงทักษะด้านต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้ในการสอน
3.นำ สมรรถนะทั้ง 7 ด้านไปปรับใช้กับเด็กอย่างเหมาะสม

ประเมิณผล
ประเมิณตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและจดตาม ทำการสรุปเนื้อหาที่เรียนของวันนี้เพื่อนำไปทำบล็อก และให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อบตอบคำถาม มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระพอสมควรค่ะ

ประเมิณพื่อน : ก็มีทั้งมาตรงต่อเวลาแต่สายบ้างนิดหน่อยไม่มากนักค่ะ ในขณะที่เรียนเพื่อนๆตั้งใจฟังจดตาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับครู สร้างรื่นเริงทำให้บรรยากาศในห้องน่าเรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ

ประเมิณอาจารย์ผู้สอน : ตรงต่อเวลา แต่งกายได้ถูกระเบียบเหมาะสมค่ะ มีการเตรียมความพรน้อมในเนื้อหาที่จะสอน แต่วันนี้ครูไม่สบายเท่าไหร่แต่ครูพยายามสอนอย่างเต็มที่เหมือนปกติ ยกคะแนนความรับผิดชอบให้เต็ม 100 เลยค่ะ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น